สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเหล็กไทย

Last updated: 1 มิ.ย. 2565  |  925 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเหล็กไทย

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าแบ่งออกเป็น อุตสาหกรรมต้นน้ำ อุตสาหกรรมกลางน้ำและอุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้ดังนี้

1.อุตสาหกรรมต้นน้ำ คือ อุตสาหกรรมเหล็กถลุง (Pig Iron) และเหล็กพรุน (Sponge Iron) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นกระบวนการเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเหล็กที่มีความสำคัญอย่าง มากต่อศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำ
2.อุตสาหกรรมกลางน้ำ เป็นขั้นตอนที่นำผลิตภัณฑ์จากการผลิตเหล็กขั้นต้นทั้งที่เป็นของเหลวและของ แข็งรวมถึงเศษเหล็ก (Scrap) มาหลอมปรับปรุงคุณสมบัติและส่วนผสมทางเคมีให้ได้เป็นเหล็กกล้า (Steelmaking) สำหรับประเทศไทยผู้ผลิตขั้นกลางทุกรายจะผลิตด้วยเตาอาร์ตไฟฟ้าโดยใช้เศษ เหล็กเป็นวัตถุหลักในการผลิต รวมถึงการหล่อเหล็กกล้าให้เป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ เหล็กแท่งยาว (Billet) เหล็กแท่งแบน (Slab) และเหล็กแท่งใหญ่ (Bloom)
3.อุตสาหกรรมปลายน้ำ เป็นขั้นของการแปรรูป ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ การรีดร้อน การรีดเย็น การเคลือบผิว การผลิตท่อเหล็ก การตีเหล็กขึ้นรูปรวมไปถึงการหล่อเหล็ก เช่น เหล็กเส้น เหล็กลวด เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เป็นต้น ซึ่งจะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทางการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 

แนวทางการนำไอทีมาเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

1)พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานของธุรกิจ การจัดหาวัตถุดิบแร่เหล็ก ซึ่งไทยต้องนำเข้าเหล็กต้นน้ำเกือบทั้งหมด เพื่อผลิตเหล็กในอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ
2)พัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถเชื่อมโยงในระบบการผลิตได้อย่างครบวงจร มีการจัดการวัตถุดิบ การใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
3)สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมเหล็กไทย และผู้ประการในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ควรมีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนร่วม กับภาครัฐ ภายใต้นโยบาย Digital Economy
4)พัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านภาษีและขั้นตอนศุลากรของไทย เพื่อรองรับการนำเข้า-ส่งออก ของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดขั้นตอนสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้
5)นำระบบดิจิตอลเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบมาตรฐานการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็ก กล้าที่ไม่ได้มาตรฐานให้มากขึ้น เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศและทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นการสนับสนุนให้ ผู้ผลิตเหล็กในประเทศไทย พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตนเองต่อเนื่อง
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

http://www.eworldmag.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้